เมล็ดพันธ์ุปาล์มสุราษฎร์ 8

surat 8

พันธุ์สุราษฎร์ธานี 8 (เดลี่ x ยังกัมบิ หรือ Deli x Yangambi)

ประวัติ

ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 8 ได้จากการผสมข้ามระหว่างแม่พันธุ์ 67/521D กลุ่ม Deli Dura กับพ่อพันธุ์ 112/427T กลุ่ม Yangambi โดยแม่พันธุ์ 67/521D ได้จากการคัดเลือกต้นจากสายพันธุ์ C2120:184D Self หรือผสมตัวเอง และพ่อพันธุ์ 112/427T ได้จากคัดเลือกต้นจากสายพันธุ์ C9023:73T Self เมื่อปี 2544 ได้ปลูกทดสอบ ที่ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน สุราษฎร์ธานี ระหว่างปี 2547-2554 ร่วมกับคู่ผสมอื่นๆ อีกจำนวน 7 คู่ผสม โดยมีลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1, 2 และ 3 เป็น พันธุ์เปรียบเทียบ

ลักษณะเด่น

  1. ผลผลิตทะลายสดสูง ในช่วงอายุ 4-7 ปี ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3.59 ตันต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 116.0 เปอร์เซ็นต์ และในช่วงอายุ 3-11 ปี ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 4.26 ตันต่อไร่ต่อปี
  2. เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลายสูง มีน้ำมันต่อทะลาย 24.80 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่าอัตราการสกัดจากโรงงาน (Oil extraction rate : OER) 21.10 เปอร์เซ็นต์ คำนวณเป็น ผลผลิตน้ำมันดิบ 757.50 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีสูงกว่าพันธุ์ ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 12.30 เปอร์เซ็นต์

  3. มีเนื้อในต่อผลเฉลี่ย 10.10 เปอร์เซ็นต์ (เกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรกำหนดพันธุ์ลูกผสมเทเนอราที่ดีนั้นต้อง

มีเนื้อในต่อผลมากกว่า 6 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งเนื้อในนำไปใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมโอลิโอเคมีคอลได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง

ข้อจำกัด

เนื่องจากการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันเป็นลูกผสมชั่วที่ 1 (F/) จึงไม่ควรนำเมล็ดที่ได้ไปขยายพันธุ์ต่อ

เพราะจะทำให้ได้ปาล์มน้ำมันที่มีการกระจายตัว เช่น ได้ปาล์มน้ำมันที่มีลักษณะกะลาหนาหรือทะลายฝ่อ ทำให้ผลผลิตต่ำ น้ำมันน้อย

พื้นที่แนะนำ

สามารถปลูกได้ในพื้นที่เหมาะสม และเหมาะสมมาก ในกรณีพื้นที่เหมาะสมปานกลางควรมีการให้น้ำในช่วงแล้ง