การคัดทิ้ง (culling) หมายถึง การคัดทิ้งต้นกล้าผิดปกติและควรต้องทำลายทิ้ง การคัดต้นกล้าผิดปกติทิ้งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการแปลงเพาะและมีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีผลกระทบต่อผลผลิตของต้นปาล์มน้ำมันในระยะยาว ถ้ามีการคัดต้นกล้าที่ผิดปกติทิ้งอย่างรัดกุมและถูกต้องจะทำให้ผลผลิตของสวนปาล์มสูงและสม่ำเสมอ ส่งผลให้การทำสวนปาล์มน้ำมันมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนและลดต้นทุนเพิ่มผลกำไรในที่สุด
การคัดตันกล้าผิดปกติทิ้งนั้น เป็นงานที่ใช้ความรู้ ความชำนาญสูง เพื่อที่จะได้ต้นปาล์มน้ำมันที่สมบูรณ์ไปปลูก
ในแปลง ในการปฏิบัติงานถ้าต้องการให้ต้นปาล์มมีผลิตสูงในช่วงเวลายาวนานมีความจำเป็นต้องคัดทิ้งต้นกล้าที่มีลักษณะผิดปกติ โดยถือหลักว่า “ถ้าต้นกล้ามีลักษณะที่น่าจะผิดปกติให้คัดทิ้งทันที” มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายในภายหลัง
1.การคัดเลือกต้นกล้าในระยะอนุบาลแรกมีปริมาณ 15% ต้นกล้าที่คัดทิ้ง 5% ส่วนใหญ่เป็นต้นกล้าตาย
ส่วนอีก 10% เป็นต้นกล้าที่ไม่สมบูรณ์และผิดปกติ
2.การคัดทิ้งตันกล้าในระยะอนุบาลหลักมีประมาณ 59 ต้นกล้าที่คัดทิ้ง 5% ส่วนใหญ่ไม่สมบูรณ์
อาจสรุปได้ว่าเมื่อนำเมล็ดปาล์มมาเพาะ 100 เมล็ด จะได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรงผ่านวิธีการคัดเลือก
เป็นอย่างดี ประมาณ 80 ต้น ส่วนอีกประมาณ 20 ต้น เป็นต้นกล้าที่ตายและผิดปกติอันเนื่องมาจากกรรมวิธี
ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อมต่างๆ
นอกจากนี้เทคนิคและมาตรฐานการคัดทิ้งตันกล้าปาล์มน้ำมันของแต่ละคนยังอาจแตกต่างกัน หรืออาจเกิดจากการขาดธาตุอาหารอันเนื่องมาจากใช้ดินเพาะที่แตกต่างกัน หรือต้นกล้าแต่ละต้นมีความต้องการธาตุอาหารไม่เหมือนกัน ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การคัดทิ้งต้นกล้าไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพ และการคัดทิ้งตันกล้า
1. คุณภาพและแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของพ่อแม่พันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพแวดล้อมในขณะที่เมล็ดพัฒนาและเจริญเติบโตในทะลายปาล์ม
2. การควบคุมคุณภาพเมล็ดของแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์
3. ภาชนะบรรจุและสภาพการขนส่งเมล็ดพันธุ์
4. การดูแลรักษาต้นกล้าในแปลงเพาะ
5. ความรู้และความเข้าใจที่สามารถคัดเลือกต้นกล้าที่ดี และต้นกล้าที่ผิดปกติ
ความรู้และนโยบายของผู้จัดการสอนในการจัดการแปลงเพาะ ตลอดนความเข้าใจในต้นกล้า ข้อนี้มีความสำคัญที่สุด